วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560
ขันธ์ 5
ขันธ์ 5
ขันธ์ 5 ท่านว่าเป็นกองทุกข์ ถ้าอยากได้สุขให้ละเหตุของทุกข์ คือการเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ 5 เมื่อไม่ยึด มันก็ไม่ทุกข์ การที่ไม่ยึดหมายความว่า ให้มองเห็นว่ามันเป็นธรรมดา แล้วนำใจเข้าไปยอมรับสภาพนั้น มันก็ไม่ก่อให้เกิดทุกข์ เรียกว่า การปฎิบัติธรรม (หรือมรรค) ซึ่งจะมีผลเป็นนิโรธ (การดับทุกข์)การมองเห็นธรรมดา คือมองให้เห็นว่าขันธ์ 5 มีธรรมดาในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่สามารถเข้าไปบังคับมันได้
ขันธ์ 5 ได้แก่
1. รูป หมายถึง กองเลือดเนื้อ ร่างกาย กระดูก ทุกสิ่งที่เห็นด้วยตา
2. เวทนา คือ ความรู้สึกที่สุข ทุกข์
3. สัญญา คือ ความจำ
4. สังขาร คือ การปรุงแต่งของจิต เช่น ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น เหงา ดีใจ เสียใจ เศร้า ครึ้มใจ ใจฟู
5. วิญญาณ ในที่นี้ท่านหมายถึง อาการทางประสาททั้ง 5 เช่น การปวดเมื่อย การปวดหัว ปวดท้องต่างๆ
ท่านให้มองสิ่งเหล่านี้ว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นปกติ ไม่มีใครสามารถบังคับมันได้ เช่น
รูป เมื่อร่างกายแก่ เราก็ห้ามความแก่ไม่ได้ เมื่อเจ็บก็ห้ามมันไม่ได้ เมื่อตายก็ห้ามไม่ได้
เวทนา ความสุข-ทุกข์ เช่น เราลองตั้งใจให้เป็นสุขสัก 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้มันทุกข์สัก 2 ชั่วโมง ในเมื่อเรากำหนดไม่ได้ มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง มันสุขทุกข์ มันก็เป็นของมัน ไม่สามารถเข้าไปบังคับมันได้ มีเพียงสติตามรู้เท่านั้น
สัญญา คือความจำนั่นเอง อันนี้ไม่อธิบายมาก
สังขาร คือการปรุงแต่งของจิต เช่น ความรู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกว่าเหงา สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่เที่ยง ไม่มีใครจะกำหนดได้ว่าฉันขอมีความรู้สึกดีใจ 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นฉันขอรู้สึกเฉย ๆ หรือ จะตั้งว่าขอโกรธสัก 10 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้มีความสุขต่อ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เองมันไม่เที่ยง มันเกิดความรู้สึกก็เกิดของมันเอง เมื่อมันดับ ก็ดับของมันเอง เช่นกัน มีเพียงสติเข้าไปตามรู้ว่า ตอนนี้โกรธ ตอนนี้เกลียด ก็อย่าหลงไปตามความรู้สึกนั้น ๆ
วิญญาณ คืออาการทางประสาท เช่น เมื่อยมาก แต่สักพักมันก็หายของมันเอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น